10 สารก่อมะเร็งในเครื่องสำอาง!

1772 จำนวนผู้เข้าชม  | 

10 สารก่อมะเร็งในเครื่องสำอาง!

 1/10 สารโลหะหนัก (Heavy metal) 

  จากการสำรวจและศึกษาวิจัยของ https://www.safecosmetics.org/ พบว่ากว่า 60% ของลิปสติก (รวมทั้งลิปกลอส) มีการปนเปื้อนของสารโลหะหนักที่เป็นพิษ อย่างสารตะกั่ว (Lead) นอกจากนี้ยังพบสารโลหะหนัก เช่น แคดเมียม, นิกเกิล, โครเมียม และปรอท ในรูปแบบของสารกันเสีย (Preservative) ทั้งในมาสคาร่า, อายแชโดว์, ยาสีฟันไวท์เทนนิ่ง, อายไลเนอร์, ยาทาเล็บ, รองพื้น, ครีมกันแดด, บลัชออน, คอนซีลเลอร์, ครีมทาหน้า, มอยส์เจอไรเซอร์ และยาหยอดตา

  หากเราได้รับสารโลหะหนักเป็นเวลานานๆ โลหะหนักเหล่านี้จะสะสมในเนื้อเยื่อในร่างกาย อาจทำให้เกิดความเสียหายต่ออวัยวะต่างๆ, ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อสมอง, อวัยวะภายในล้มเหลว, เกิดการอักเสบในร่างกาย และอาจก่อให้เกิดมะเร็งได้ในที่สุด 

 

 

 


  2/10 สารพาทาเลต (Phthalates)

  สารพาทาเลต (Phthalates) ใช้เป็นตัวทำละลายในน้ำหอม ในเครื่องสำอางมักพบมากในน้ำหอม, โลชั่น, ยาทาเล็บ, สเปรย์ฉีดผม และผลิตภัณฑ์ต่างๆที่มีกลิ่นหอม โดยบริษัทเครื่องสำอางจะไม่เขียนชื่อสารพาทาเลต (Phthalates) ตรงตัวลงไปบนฉลาก แต่มักจะใช้คำว่า "Fragrance" (น้ำหอม) แทนในฉลากส่วนผสม

  จากงานวิจัยโดยคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาฮาร์วาร์ด พบว่าสารพาทาเลตนี้สร้างความเสียหายในสเปิร์มของมนุษย์ถึงระดับดีเอ็นเอเลยทีเดียว แถมยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับความเสียหายของเซลล์อื่นๆด้วย และจากงานวิจัยอีกมากมายพบว่าเชื่อมโยงกับความพิการแต่กำเนิดของทารก, ออทิสติก, ปัญหาทางระบบประสาท, สมองและไทรอยด์, ระดับ IQ ที่ลดลง และเชื่อมโยงกับการเกิดมะเร็งเต้านมและมะเร็งอัณฑะ

 

 

 

 

 

  3/10 ฟอร์มาลิน (Formaldehyde)  

  สารฟอร์มาลิน หรือ ฟอร์มัลดีไฮด์ (Formaldehyde) ที่เรารู้จักมักถูกใช้เป็นน้ำยาดองศพให้ไม่เน่าเปื่อย ได้ถูกใช้เป็นสารกันบูดในเครื่องสำอาง ส่วนใหญ่ถูกใช้ในมาสคาร่า, ยาทาเล็บ, น้ำยายืดผม, ยาสีฟัน, ครีมโกนหนวด, ยาบ้วนปาก, สบู่, แชมพู และผลิตภัณฑ์ Personal Cares ต่างๆ 

  ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดอาการแพ้, หอบหืด และเชื่อมโยงนำไปสู่การเกิดมะเร็งได้ในที่สุด ‼ เช่น มะเร็งโพรงจมูกและทางเดินหายใจ, มะเร็งเม็ดเลือดขาว ปัจจุบันแคนาดาได้ประกาศห้ามนำมาใช้ในผลิตภัณฑ์เครื่องใช้และเครื่องสำอางทุกชนิดแล้ว!

 วิธีการสังเกตคือให้มองหาชื่อสารเคมีเหล่านี้บนฉลาก เช่น DMDM ​​hydantoin, bronopol, sodium hydroxymethylglycinate, quaternium-15, Glyoxal แต่บางครั้งก็อาจจะไม่มีปรากฏบนฉลาก เพราะสารเคมีได้ถูกผสมเป็นเนื้อเดียวกับตัว Raw Materials ไปเรียบร้อยแล้ว

 

 

 

 

 

  4/10 โพลีเอทิลีน ไกลคอล (Polyethylene Glycols) (PEGs) 

  โพลีเอทิลีน ไกลคอล เป็นสารเคมีสังเคราะห์ที่ผลิตจากสารประกอบจากปิโตรเลียม ใช้สำหรับเพิ่มความนุ่ม,ชุ่มชื้น และใช้เป็นตัวทำลาย และทำให้ผลิตภัณฑ์มีความข้นขึ้น มักพบในผลิตภัณฑ์ความงามจำพวกทำความสะอาดและบำรุงผิว เช่น น้ำยาปรับผ้านุ่ม, แชมพู, มูสและครีมบำรุงผม, ยาสีฟัน, ยาย้อมผม และยังมีพบใน วซ. เอ็มRเอ็นเอบางยี่ห้ออีกด้วย

  ในสารชนิดนี้มักพบการปนเปื้อนของ ethylene oxide และ 1,4-dioxane ซึ่งอาจทำให้เกดการระคายเคืองต่อผิวสูง เป็นอันตรายต่อระบบประสาทและขัดขวางการพัฒนาของมนุษย์ และอาจเป็นสาเหตุของความผิดปกติในตับและไต และเป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งโดยเฉพาะมะเร็งตับ, มะเร็งโพรงจมูก และระบบทางเดินหายใจ สถาบันเผยแพร่ข้อมูลด้านความปลอดภัยของวัตถุในสหรัฐอเมริกา (III) จึงได้ออกคำเตือนให้หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีชนิดนี้

 

 

 

 

  5. BHT & BHA (บีเอชที & บีเอชเอ)

  ถูกใช้เป็นสารกันบูดและน้ำหอมในเครื่องสำอางประเภท อายไลเนอร์, อายแชโดว์, ลิปสติก และครีมบำรุงผิวต่างๆ (Moisturizer) สารทั้ง 2 ชนิดนี้ สามารถก่อให้เกิดอาการแพ้ในผิวหนังได้ และหน่วยงานระหว่างประเทศเพื่อการวิจัยโรคมะเร็ง (IARC) ได้จัดให้ BHA ว่าเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์และยังรบกวนการทำงานของฮอร์โมนและต่อมไร้ท่อ และจากการวิจัยในหนูทดลองพบว่า หากได้รับ BHT ในปริมาณสูงเป็นเวลานาน จะเป็นพิษและทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับตับ, ไทรอยด์, ปอด, ไต และการแข็งตัวของเลือด และยังเป็นอันตรายส่งผลกระทบต่อระบบสืบพันธุ์ทั้งในเพศชายและหญิง

  ในปัจจุบันยังมีการใช้สารทั้ง 2 ชนิดนี้กันมากในฝั่งอเมริกา แต่ในรัฐแคลิฟอร์เนียได้กำหนดให้มีการทำฉลากเตือนบนผลิตภัณฑ์ที่มีสาร BHT & BHA เพื่่อแจ้งให้ผู้บริโภคได้ทราบว่าส่วนผสมทั้ง 2 ชนิดนี้อาจก่อให้เกิดมะเร็งได้ แต่ในสหภาพยุโรปได้มีการประกาศให้ห้ามใช้สารทั้ง 2 ชนิดนี้แล้ว และภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมทางทะเลของมหาสมุทรแอตแลนติกตะวันออกเฉียงเหนือ (OSPAR) ได้ระบุให้สาร BHT & BHA เป็นสารเคมีที่มีการสะสมทางชีวภาพ และก่อให้เกิดความเป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิตทางน้ำ

 

 

 


  6/10  ออกซิเบนโซน & ออกทิโนเซต (Octinoxate & Oxybenzone)


 มักพบในครีมกันแดด เป็นสารเคมีที่ใช้ในการกรองแสง UVB จากดวงอาทิตย์ โดยสารเคมีนี้จะถูกดูดซึมเข้าสู่ผิวหนังได้อย่างรวดเร็ว มีหลักฐานบ่งชี้ว่าสามารถดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด และตกค้างได้นานเกิน 24 ชม. ซึ่งตามรายงานของศูนย์ควบคุมโรค (CDC) พบว่าชาวอเมริกันกว่า 97 เปอร์เซ็นต์มีสารเคมีชนิดนี้ตกค้างหมุนเวียนอยู่ในร่างกาย อาจก่อการระคายเคืองต่อผิว หรือมีอาการแพ้ได้ และยังสามารถก่อให้เกิดการสร้างอนุมูลอิสระขึ้นมาทำลายผิว ก่อให้เกิดริ้วรอยต่างๆได้ 

 นอกจากนี้ผู้เชี่ยวชาญยังกล่าวอีกว่าสารเหล่านี้อาจไปยับยั้งขัดขวางการทำงานฮอร์โมนบางชนิด ซึ่งอาจส่งผลให้ไทรอยด์ทำงานบกพร่อง และส่งผลเสียต่อระบบต่อมไร้ท่อของมนุษย์ได้ และยังพบว่าเชื่อมโยงกับการเกิดมะเร็งทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย และยังเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดโรคเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์ เช่น เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ และยังเป็นอันตรายต่อแนวปะการังและสิ่งแวดล้อมทางทะเล พอๆกับที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ 


 

 

 

  7/10 ไซลอกเซน (Siloxanes)

 ไซลอกเซนเป็นสารเคมีที่มักใช้ในเครื่องสำอางเพื่อเพิ่มความนุ่มเนียน และชุ่มชื้น ด้วยเหตุนี้จึงมักพบสารชนิดนี้ในผลิตภัณฑ์ประเภทระงับกลิ่นกาย, ครีมบำรุงผิว, ครีมรองพื้น, ครีมโกนหนวด และยังใช้ในผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับเส้นผม เพื่อช่วยให้แห้งเร็วขึ้น

 มีหลักฐานว่าไซลอกเซนสามารถทำลายขัดขวางการทำงานของฮอร์โมนและระบบต่อมไร้ท่อในร่างกายได้ และอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อระบบสืบพันธุ์, ทำลายระบบภูมิคุ้มกัน, ลดภาวะการเจริญพันธุ์, เป็นพิษต่อตับ และการเกิดมะเร็ง-เนื้องอกในมดลูก, รังไข่ 

 วิธีสังเกต ให้มองหาชื่อ siloxanes, methicone, silane บนฉลากผลิตภัณฑ์ หากพบควรหลีกเลี่ยง

 

 

 

 

  8/10 สาร PPD (P-Phenylenediamine)

  พบมากในยาโกรก-ย้อมผม, น้ำยาฟอก - กัดสีผม, ครีมปิดผมขาว เพราะมีส่วนช่วยทำให้สีผมติดทนนานขึ้น

  สารเคมีชนิดนี้อาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองหรือแพ้ที่หนังศีรษะ, ผิวหนัง หรือบริเวณที่ถูกสัมผัสได้ และยังสะสมก่อให้เกิดการถูกทำลายของเซลล์ดีเอ็นเอ (DNA) ได้อีกด้วย

  นักวิทยาศาสตร์ระบุว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นในเซลล์ DNA สามารถทำให้เกิดการกลายพันธุ์ของเซลล์กลายไปเป็นเซลล์มะเร็งได้ เช่น มะเร็งรังไข่, เต้านม, ต่อมน้ำเหลือง, ลูคีเมีย และกระเพาะปัสสาวะ เป็นต้น


 

 

  9/10 คาร์บอนแบล็ค (Carbon Black)


  เป็นส่วนผสมที่ใช้เป็นสีเครื่องสำอางประเภทอายไลเนอร์ ทำให้อายไลเนอร์มีสีดำ, อายแชโดว์ และมาสคาร่า และอื่นๆอีกหลายๆชนิด
 โดยคาร์บอนแบล็คเกิดจากการเผาไหม้บางส่วนของวัสดุที่มีคาร์บอนเป็นส่วนประกอบ มักมีการปนเปื้อนของโลหะหนัก เช่น ตะกั่ว
 การได้รับสารเคมีชนิดนี้

  ส่งผลทำให้เกิดความเป็นพิษต่ออวัยวะร่างกาย และ เชื่อมโยงกับการเกิดมะเร็ง เช่นมะเร็งปอด, มะเร็งโพรงจมูก และทางเดินหายใจ

 

 

  10/10 เบนโซฟีโนน (Benzophenone)


 พบในเครื่องสำอางประเภท ลิปบาล์ม, ยาทาเล็บ, รองพื้น, ครีมกันแดด, น้ำหอม, แชมพู, ครีมนวดผม, สเปรย์ฉีดผม, มอยส์เจอไรเซอร์ ใช้กันทั่วไปในการปกป้องเครื่องสำอางจากการเสื่อมสภาพเนื่องจากแสงแดด


  The California EPA ได้ระบุ Benzophenone เป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ เช่น มะเร็งเต้านม, รังไข่, ปอด และจากการศึกษาทดลองพบว่าสารเบนโซฟีโนนอาจนำไปสู่การเกิดเนื้องอกได้หลายชนิด และยังส่งผลอันตรายต่อระบบต่อมไร้ท่อ ขัดวางการทำงานของฮอร์โมน มีความเป็นพิษต่ออวัยวะ และอันตรายต่อระบบสืบพันธุ์

 วิธีสังเกตหาชื่อสารเคมีชนิดนี้บนฉลากผลิตภัณฑ์ เช่น Benzophenone, benzophenone-2), BP2, oxybenzone, sulisobenzone, sulisobenzone sodium

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้