1923 จำนวนผู้เข้าชม |
องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้จัด อาหารประเภท "เนื้อสัตว์แปรรูป" ไว้ว่าเป็นสารก่อมะเร็งกลุ่มที่ 1 โดยมีหลักฐานที่น่าเชื่อถือและแน่ชัดแล้ว โดยมีความเกี่ยวข้องโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับมะเร็งลำไส้ใหญ่ และทวารหนัก
องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้จัด "เนื้อแดง"อยู่ในกลุ่มอาหารก่อมะเร็ง กลุ่ม 2A คือ แย่น้อยกว่าเนื้อสัตว์แปรรูปเพียงเล็กน้อยเท่านั้น‼ เนื้อแดงมีหลักฐานเชื่อมโยงกับ มะเร็งลำไส้ใหญ่, มะเร็งตับอ่อน และมะเร็งต่อมลูกหมาก
องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้จัดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นสารก่อมะเร็งกลุ่มที่ 1 ซึ่งหมายความว่ามีหลักฐานที่แน่ชัดและเพียงพอแล้วว่ามีการก่อให้เกิดมะเร็งในมนุษย์ได้จริง
มะเร็งที่มีหลักฐานเชื่อมโยงกับการบริโภคแอลกอฮอล์โดยเฉพาะ ได้แก่ มะเร็งในช่องปาก, คอหอย, หลอดอาหาร, เต้านม, ตับ, กระเพาะอาหาร และลำไส้
เป็นสารพิษที่เกิดจากเชื้อราที่ปนเปื้อนในผลิตผลทางการเกษตร เช่น ข้าวโพด, ข้าวฟ่าง, ปลายข้าว, ถั่วลิสง, กากถั่วเหลือง, ปลาป่น, มะพร้าว, สมุนไพร, เครื่องเทศ และในผลิตภัณฑ์แปรรูปแทบทุกชนิด
อะฟลาทอกซินเป็นสารที่ก่อให้เกิดมะเร็งในตับสัตว์ทดลองหลายชนิดอย่างชัดเจน ปัจจุบันองค์การ IARC ( International Association Research Cancer ) ได้จัดสารอะฟลาทอกซิน เป็นสารก่อมะเร็ง Class I ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นที่ตับ และอาจก่อมะเร็งในอวัยวะอื่นๆ เช่น ไต, ระบบหายใจ, ระบบทางเดินอาหาร, ระบบประสาท, ระบบสืบพันธุ์ และระบบภูมิคุ้มกัน
ที่เรารู้จักกันทั่วไปว่าคือน้ำยาดองศพไม่ให้เน่าเปื่อย แต่พ่อค้าแม่ค้ามักแอบนำมาใช้กับอาหาร เพื่อทำให้อาหารสดและน่าทาน พบมากในอาหารทะเล เช่น กุ้ง ปลาหมึก, เนื้อสัตว์ต่างๆ เช่น ไก่, ผักต่างๆ เช่น กระหล่ำปลี ผักกาดขาว ถั่วงอก เห็ด เป็นต้น
พิษของฟอร์มาลินหากได้รับในปริมาณมากและสะสมจะมีฤทธิ์ทำลายระบบการทำงานของเซลล์ในร่างกาย และก่อให้เกิดมะเร็งต่างๆได้ เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว, มะเร็งโพรงจมูก, มะเร็งสมอง, มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
องค์การ IARC ( International Association Research Cancer ) เพื่อการวิจัยโรคมะเร็ง ได้จัดให้สารฟอร์มาลดีไฮด์ หรือ ฟอร์มาลิน เป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์
จากงานวิจัยใหม่ของ Loma Linda University Health สหรัฐอเมริกา พบหลักฐานบ่งชี้ว่า สำหรับผู้หญิง การดื่มนมวัวเพียง 1 แก้วต่อวัน เชื่อมโยงกับโอกาสเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้นถึง 50% และเพิ่มขึ้นอีก 70-80% สำหรับผู้ที่ดื่ม 2-3 แก้วต่อวัน และสำหรับผู้ชาย การดื่มนมวัววันละ 3 แก้ว เพิ่มโอกาสเสี่ยงในการเสียชีวิตจากมะเร็งต่อมลูกหมากสูงถึง 141%
อาหารที่ผ่านความร้อนสูง อย่างอาหารประเภทปิ้งย่าง, รมควัน เช่น หมูกะทะ, บาบีคิว, เนื้อย่าง, คอหมูย่าง, ไก่ย่าง เป็นต้น จะพบสารก่อมะเร็งที่มีชื่อว่าสารพีเอเอช (Polycyclic Aromatic Hydrocarbon - PAH) ซึ่งเกิดจากการเผาไหม้ของไขมันในเนื้อสัตว์ ที่หยดลงไปโดนถ่านไฟ จนทำให้เกิดเป็นควันที่มีพิษ เป็นสารก่อมะเร็งและลอยกลับขึ้นมาจับที่เนื้อสัตว์บนเตา ซึ่งสาเหตุของโรคมะเร็ง เช่น มะเร็งเต้านม, มะเร็งปอด, มะเร็งผิวหนัง, มะเร็งลำไส้, มะเร็งกระเพาะอาหาร, มะเร็งกระเพาะปัสสาวะได้
พบในอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตสูง เช่น มันฝรั่งทอดกรอบ, เฟรนฟรายซ์, ขนมปัง, เบอเกอรี่, คุกกี้, บิสกิต, ซีเรียล, พิซซ่า และรวมทั้งกาแฟด้วย เมื่อนำไปทอดกรอบ, อบกรอบ, ปิ้งย่าง, คั่วทั้งหลาย ที่นำไปแปรรูปผ่านความร้อนสูง จะเกิดสารอะคริลาไมด์ (Acrylamide)
ซึ่งจากผลการวิจัยในห้องปฏิบัติการพบว่า Acrylamide เป็นสารก่อมะเร็งในสัตว์ทดลอง และมีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดมะเร็งในมนุษย์ เช่น มะเร็งเต้านม, มดลูก, รังไข่, ผิวหนัง, ต่อมลูกหมาก, สมอง, ปอด, ลำไส้ เป็นต้น
แอสปาแตม หรือน้ำตาลเทียม ที่มักถูกใช้แทนน้ำตาล เติมลงในขนม อาหารเพื่อสุขภาพต่างๆ และเครื่องดื่มน้ำตาล 0% เช่น น้ำอัดลม, โยเกิร์ต, ลูกอม, หมากฝรั่ง, น้ำผลไม้สำเร็จรูป, ไอติม
ประกอบไปด้วยสารเคมี 3 ชนิด คือ กรดแอสปาร์ติก ฟีนิลอะลานีน และ เมธานอล หากได้รับมากเกินไป สะสมเป็นเวลานาน และร่างกายกำจัดออกไปได้ไม่หมด อาจเกิดผลเสียต่อสุขภาพตามมามากมาย เช่น ระบบภูมิคุ้มกันถูกทำลาย, ส่งผลเสียต่อการทำงานของหัวใจ, ตับ, ไต, สมอง และระบบทางเดินอาหาร, โรคลมบ้าหมู, อัลไซเมอร์, ปลอกประสาทอักเสบ, ต่อมไร้ท่อทำงานผิดปกติ, เซลล์ DNA ถูกทำลาย, เกิดการอักเสบในร่างกาย และอาจก่อให้เกิดมะเร็งได้ในที่สุด เช่น มะเร็งสมอง, มะเร็งเม็ดเลือดขาว, มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
นอกจากนี้ แอสปาร์แตมยังทำให้ร่างกายมีปริมาณการผลิตฮอร์โมนที่ผิดปกติ ส่งผลให้ร่างกายยิ่งโหยหาความหวานจากน้ำตาลมากยิ่งขึ้น
คำแนะนำสำหรับผู้ที่กำลังบำบัดมะเร็ง และผู้ต้องการดูแลสุขภาพ หากท่านกำลังมองหาความหวานทดแทนน้ำตาล แนะนำหญ้าหวาน หรือ น้ำตาลจากหล่อฮั่งก๊วย จากธรรมชาติ สามารถใช้ได้อย่างปลอดภัยในระยะยาวมากกว่าค่ะ
จากการวิจัยในหนูทดลองล่าสุดพบว่าน้ำเชื่อมข้าวโพด (High-fructose corn syrup) เร่งการเติบโตและลุกลามของเนื้องอกและมะเร็งในร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งมะเร็งลำไส้ และยังส่งผลให้เกิดภาวะโลหิตจางมากขึ้น ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับเนื้องอกที่พบได้บ่อย ซึ่งหนูที่ถูกทดลองในครั้งนี้เป็นหนูที่มีการตัดต่อยีนเพื่อให้ใกล้เคียงกับมนุษย์มากขึ้นแล้ว จึงมีโอกาสเป็นไปได้มากที่จะเกิดขึ้นกับมนุษย์
และในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ยังพบว่าในปัจจุบันที่คนเรามีอัตราการทานน้ำตาลอุตสาหกรรมมากขึ้น เด็กๆยังมักมีอัตราการเกิดมะเร็งลำไส้เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน อาหารที่มีน้ำเชื่อมข้าวโพด (HFCS) สูง เช่น น้ำอัดลม, น้ำผลไม้UHT, โยเกิร์ต, ไอศครีม, ขนมปังและเบเกอรี่, แยมผลไม้, อาหารแช่แข็ง, ซีเรียลบาร์, ซอสมะเขือเทศ, อาหารกระป๋อง เช่น ซุปกระป๋อง, แม็กซ์เเอนด์ชีส, น้ำสลัด, ซอสแอปเปิ้ล, ช็อกโกแลต, ขนม ลูกอมต่างๆ